มาดูกาแล็กซี่กัน
ดาราจักรชนกัน
ปรากฏการณ์แห่งจักรวาล
องค์การนาซาเผยภาพเด็ดที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นที่ฮือฮากันทั่วโลก
เป็นภาพ 2 ดาราจักรชนกันและก่อให้เกิดดาวฤกษ์ใหม่ๆขึ้นกว่าหนึ่งพันกระจุกดาว
รวมแล้วเป็นดาวฤกษ์กำเนิดใหม่กว่า 1 ล้านดวง รวมทั้งยังทำนายว่าดาราจักรที่โลกเราอยู่นี้ก็จะชนกับดาราจักรแอนโดรมีดาในอนาคตเช่นกัน
ดาราจักร (galaxy,
แกแลกซี) คือระบบของดวงดาวซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์ เนบิวลา กลุ่มก๊าซ
ฝุ่น ธุลี และที่ว่างในอวกาศ เทหวัตถุต่างๆในดาราจักรนั้นเกาะกลุ่มอยู่รวมกันได้ด้วยแรงดึงดูดระหว่างกันและกัน
ถ้าจะเปรียบเทียบเอกภพนี้เป็นเหมือนโลก ดาราจักรหนึ่งก็คงเทียบได้กับเกาะแห่งหนึ่งนั่นเอง
แต่ดาราจักรแต่ละระบบนั้นแม้จะกินเนื้อที่เพียงส่วนเสี้ยวของเอกภพ
แต่เพียงเท่านั้นก็มีขนาดมหึมาเกินกว่าที่เราจะจินตนาการไปถึง ลองคิดดูว่าในเอกภพนั้นมีดาราจักรอยู่ถึงกว่าหมื่นล้านระบบ
เฉพาะในดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way galaxy) ที่โลกและระบบสุริยะของเราอาศัยอยู่นั้นก็มีดาวฤกษ์อยู่ถึงราวหนึ่งแสนล้านดวงเข้าไปแล้ว
ดาราจักรแต่ละระบบนั้นไม่ได้อยู่นิ่งเฉยๆ
แต่จะเคลื่อนที่ไปในเอกภพ รวมทั้งเทหวัตถุต่างๆที่อยู่ในดาราจักรก็จะเคลื่อนที่ตามกันไปด้วย
เมื่อดาราจักรมีอยู่มากมายในเอกภพเหมือนรถที่มีมากมายในท้องถนน ดังนั้นการที่ดาราจักรจะเคลื่อนที่มาชนกันก็ย่อมมีโอกาสเป็นไปได้
นักดาราศาสตร์ได้สนใจศึกษาปรากฏการณ์ดาราจักรชนกันมานานแล้ว
แต่ก็ไม่ได้รายละเอียดมากนักเนื่องจากดาราจักรแต่ละแห่งนั้นอยู่ไกลจากโลกมาก
รวมทั้งโลกยังมีชั้นบรรยากาศที่มีฝุ่นละอองมาบดบังแสงสว่างจากดวงดาวอยู่
ทำให้การศึกษารวมทั้งการถ่ายภาพดาราจักรชนกันด้วยกล้องโทรทัศน์ที่มีอยู่บนโลกไม่สามารถเห็นรายละเอียดได้มาก
แต่เมื่อวันที่
21 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ องค์การบริหารอากาศและการบินหรือองค์การนาซาแห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้เผยแพร่ภาพถ่ายที่ได้จากกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิลซึ่งโคจรอยู่นอกโลก
ภาพที่ส่งมานั้นเป็นภาพการชนกันของดาราจักร 2 ระบบที่อยู่ใกล้กัน
นั่นคือดาราจักรเอ็นจีซี 4038 (NGC4038) และเอ็นจีซี 4039 (NGC4039)
ซึ่งภาพที่ได้นั้นเห็นรายละเอียดได้มากมายกว่าที่ได้จากกล้องโทรทัศน์บนโลกมากนัก
สร้างความตื่นเต้นแก่วงการวิทยาศาสตร์รวมทั้งเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก
- ดาราจักรเอ็นจีซี
4038 (NGC4038) และ
- เอ็นจีซี
4039 (NGC4039) ภาพนี้ถ่ายจาก
- กล้องโทรทัศน์บนโลก
ส่วนที่เห็นอยู่กลางภาพ
- คล้ายรูปหัวใจนั้นคือดาราจักรทั้ง
2 ระบบที่รวม
- ตัวเข้าหากัน
ซึ่งที่จริงแล้วขอบเขตของดาราจักร
- ทั้งสองไม่ได้มีเพียงแค่นั้น
แต่ยังรวมห้วงอวกาศ
- ที่อยู่รอบนอกอีกด้วย
- ผลจากการชนกันหรือรวมตัวเข้าหากันนี้ทำให้เกิด
- การเปลี่ยนแปลงของแรงดึงดูดที่ยึดเหนี่ยวดาราจักร
- อยู่
เส้น 2 เส้นที่เห็นคล้ายหนวดแมลงที่งอกออกมา
- จากหัวใจนั้นก็เป็นปรากฏการณ์อันเป็นผลจากการ
- ชนกัน
ดังนั้นดาราจักรนี้ (หมายถึง 2 ดาราจักร
- ที่รวมกันอยู่นี้)
จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
- ดาราจักรหนวดแมลง
(Antennae galaxy)
|
- ภาพที่เห็นในซีกซ้ายคือภาพดาราจักร
- หนวดแมลงส่วนที่เห็นในกรอบสีน้ำเงิน
- นั้นเมื่อจับภาพด้วยกล้องโทรทัศน์อวกาศ
- ฮับเบิลแล้วจะเห็นรายละเอียดภายในได้
- อีกมากดังที่เห็นในซีกขวา
|
ภาพที่เห็นในภาพคือใจกลางของดาราจักรเอ็นจีซี
4038 และเอ็นจีซี 4039 ที่เกิดการชนกัน โดยในภาพกลางนั้นมี
4 บริเวณที่ถูกนำมาขยายเพื่อให้เห็นรายละเอียดมากขึ้น
(คลิกที่บริเวณที่ล้อมกรอบเพื่อดูภาพขยาย)
เราจะเห็นแกนกลางของดาราจักรเอ็นจีซี
4038 คือส่วนที่เป็นคล้ายกลุ่มเพลิงสีส้มที่อยู่ในล้อมกรอบด้านซ้าย
ส่วนแกนกลางของดาราจักรเอ็นจีซี 4039 คือกลุ่มที่เห็นเป็นสีส้มในล้อมกรอบด้านขวา
ส่วนที่เห็นเป็นสีฟ้าและฟ้าอมขาวในภาพนั้นคือกลุ่มดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ทั้งสิ้น
ซึ่งในภาพนี้ได้ขยายมาให้ชม 2 บริเวณ จะเห็นได้ว่าเพียงแค่
2 บริเวณนี้ก็เห็นดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนนับไม่ถ้วนแล้ว
มาตราส่วนที่เห็นในภาพขยายทั้ง
4 ภาพนั้นเทียบเท่ากับระยะทาง 1,500 ล้านปีแสง |
การชนกันของดาราจักรนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นการพุ่งเข้าชนเหมือนดาวหางชูมักเกอร์-เลวี
9 ที่พุ่งเข้าถล่มดาวพฤหัส หรือเหมือนรถยนต์ 2 คันที่พุ่งเข้าชนกันแล้วเห็นผลจากการชนในพริบตา
คือมีชิ้นส่วนของรถกระเด็นออกมาอันเนื่องมาจากแรงปะทะกันในการชน
แต่ดาราจักรแต่ละระบบจะมีห้วงอวกาศอันเป็นที่ว่างอยู่ในตัวของมันมากมาย
ดังนั้นการชนกันจึงเปรียบเหมือนเมฆ 2 ก้อนบนท้องฟ้าลอยมาชนกันมากกว่า
ซึ่งผลจากการชนกันก็คือเมฆ 2 ก้อนนั้นก็จะรวมกันกลายเป็นเมฆก้อนใหญ่กว่าเดิม
การชนกันของดาราจักรก็คล้ายๆกัน
เมื่อดาราจักรพุ่งเข้าชนกันแล้วก็จะรวมตัว ผลจากการรวมตัวเข้าหากันนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดึงดูดที่ยึดเหนี่ยวระบบดาราจักรเอาไว้
กลุ่มฝุ่นก๊าซภายในดาราจักรจะกระเพื่อมเป็นระลอกคล้ายระลอกน้ำ ทำให้มวลของกลุ่มฝุ่นและก๊าซบางส่วนถูกอัดตัวให้มีความหนาแน่นมากขึ้น
และเมื่อมีความหนาแน่นมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน
(nuclear fusion ปฏิกิริยาการรวมนิวเคลียสซึ่งให้พลังงานออกมา) และพัฒนากลายเป็นดาวฤกษ์ต่อไป
โดยปกติแล้ววิวัฒนาการในการกำเนิดดาวฤกษ์นั้นก็เป็นไปโดย
ดาราจักรเอ็นจีซี
4038 และ 4039 ที่พุ่งเข้าชนกันนั้นได้เริ่มชนกันเมื่อนานมาแล้ว
ภาพที่ถ่ายได้ในปัจจุบันนั้นจะเห็นได้ว่า 2 ดาราจักรนั้นรวมตัวเข้าหากันแล้ว
และผลจากการรวมตัวกันทำให้เกิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ๆขึ้นถึงกว่าหนึ่งพันกระจุกดาว
ซึ่งหากประมาณอย่างคร่าวๆก็คงมีดาวฤกษ์กำเนิดใหม่ถึงหนึ่งล้านดวง
|
|
|
|
|
|
แบบจำลองแสดงขั้นตอนการชนกันของดาราจักรเอ็นจีซี
4038 และ 4039
|
และอย่าลืมว่าแม้ภาพดังกล่าวจะเป็นภาพที่ถ่ายในปัจจุบันตามเวลาบนโลกก็จริง
แต่เนื่องจากดาราจักรคู่นี้อยู่ห่างจากโลกถึง 63 ล้านปีแสง ดังนั้นภาพที่เราเห็นในขณะนี้แท้ที่จริงแล้วคือภาพที่เกิดขึ้นเมื่อ
63 ล้านปีมาแล้ว เพราะแสงใช้เวลาถึง 63 ล้านปีกว่าจะนำภาพนี้มาสู่ตาของมนุษย์บนโลก
หากเราต้องการเห็นว่า ขณะนี้ เกิดอะไรขึ้นกับดาราจักรคู่นี้ก็ต้องรอไปดูเอาในอีก
63 ล้านปีข้างหน้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แบบจำลองสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์แสดงการชนกันของดาราจักร
ในตอนท้ายจะเห็นปรากฏการณ์ที่คล้ายหนวดแมลงอันเป็นผลจากการ
ชนกันซึ่งคล้ายการเกิดระลอกคลื่นบนผิวน้ำนั่นเอง
|
นอกจากดาราจักรคู่นี้แล้ว
นักดาราศาสตร์ยังสังเกตพบดาราจักรชนกันอีกหลายคู่ รวมทั้งดาราจักรทางช้างเผือกที่เราอยู่นี้ก็เช่นกัน
เพราะมีทิศทางการเคลื่อนตัวพุ่งเข้าชนดาราจักรแอนโดรมีดา (Andromeda
galaxy) แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะนักดาราศาสตร์คำนวณไว้แล้วว่าแม้ดาราจักรทั้งสองจะเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยความเร็วถึงราว
480,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่กว่าจะชนกันก็ต้องอีก 5,000 ล้านปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย
เพราะดาราจักรแอนโดรมีดายังอยู่ห่างจากทางช้างเผือกถึง 2.2 ล้านปีแสง
(1 ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางเป็นเวลา 1 ปี คิดเป็นระยะทางประมาณ
9.4 ล้านล้านกิโลเมตร) และกว่าจะถึงป่านนั้น ดวงอาทิตย์ของเราก็คงดับไปเรียบร้อยแล้วและโลกก็คงกลายเป็นดาวเคราะห์ที่ไร้สิ่งมีชีวิตไปนานแล้ว
ภาพวาดจากจินตนาการแสดงการ
ชนกันระหว่างดาราจักรทางช้างเผือก
และดาราจักรแอนโดรมีดา |
|
ต้อง
ขออภัยผู้ชมท่า หากได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ.
l หน้าแรก l l หน้างานเขียนl แกลอรี่ l เว็บบอรด์ l
www.hotmail.com l www.google.com l www.sanook.com l